"จุฬาฯ ผนึกภาครัฐ-เอกชน เปิดตัว ฟาร์มหอยทากเชิงนิเวศแห่งแรกของเอเชีย ต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม เล็งขยายสร้างพิพิธภัณฑ์หอยทากเป็นแหล่งเรียนรู้ โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์หอยทาก เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พร้อมย้ำศักยภาพนักวิจัยไทยเก่ง ยืนยันไทยเป็นพื้นที่สุวรรณภูมิ มีความหลากหลายชีวภาพ จี้คนไทยตระหนัก ขณะที่ ภาคเอกชนผู้ร่วมทุน เผยตลาดความงามเติบโตเร็ว คาด 4 ปี มูลค่าพุ่ง 1 ล้านล้านบาท"
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัว ฟาร์มหอยทางเชิงนิเวศแห่งแรกของเอเชีย (Siam Snail Eco Farm)บนพื้นที่ 10ไร่ ผลงานจากการต่อยอดงานวิจัยจนเกิดเป็นบริษัท Spian off สยามสเนล ภายใต้สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาฯ ถือเป็นต้นแบบโครงการวิจัยพื้นฐานสู่ Start up/Spin off โดยมี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าจุฬาฯมีแนวทางที่ชัดเจนส่งเสริมให้คณาจารย์ทำงานวิจัยโดยไม่ได้หยุดเพียงการตีพิมพ์หรือในห้องปฎิบัติการ แต่ต้องต่อยอดนำสู่การจดสิทธิบัตรสู่การใช้ประโยชน์ จึงได้พยายามสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิต จัดตั้งบริษัทในลักษณะStart up/Spin off โดยได้มอบหมายให้สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม
การต่อยอดงานวิจัยจนไปสู่บริษัท และฟาร์มหอยทางเชิงนิเวศแห่งแรกของเอเชีย สยามสเนลได้นั้น เกิดจากความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) บริษัทเอกชน เป็นต้น เพราะการจะขยาย Spin off หรือการนำงานวิจัยต่อยอดสู่บริษัทได้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยหน่วยงานภายนอก ทั้งในส่วนภาครัฐ และเอกชน ในการช่วยสนับสนุนทุนวิจัย นอกจากนั้น งานวิจัยจะใช้ได้จริง ไม่ใช่มองเพียงเรื่องการค้าอย่างเดียว ต้องมองเชิงนิเวศด้วย ซึ่งฟาร์มหอยทากเชิงนิเวศแห่งแรกของเอเชียนี้ จะเป็นต้นแบบ ตัวอย่างในการนำงานวิจัยต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรมและคำนึงถึงระบบนิเวศวิทยา อธิการบดี จุฬาฯ กล่าว
ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญา ผู้อำนวยการศูนย์แห่งชาติความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเจ้าของงานวิจัยเกี่ยวกับหอยทากมายาวนานมากกว่า 30 ปี พัฒนาจนสามารถจนนำไปใช้กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ได้ครบวงจร สามารถผลิตเมือกหอยทากที่มีคุณภาพสูง มีความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์สูงกว่าที่จำหน่ายทั่วไปที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 30 เท่า โดยมีฟาร์มหอยทากแห่งนี้เป็นต้นทางของการผลิต ยืนยันว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก ซึ่งตอนนี้หลายคนอาจมองว่าประเทศไม่อุดมสมบูรณ์ นิเวศวิทยาถูกทำลาย แต่ถ้าอยู่ในวงการการศึกษา งานวิจัย จะทราบว่าต่อให้ระบบนิเวศของเราถูกทำลาย แต่สิ่งมีชีวิตทุกอย่างสามารถคืนกลับมาได้ และนิเวศวิทยาเหล่านี้ ชีวภาพจะเปลี่ยนมาเป็นมูลค่าทางการค้า และงานวิจัยหอยทาก เป็นผลพิสูจน์แล้วว่า ประเทศไทยอยู่บนพื้นที่สุวรรณภูมิ เมื่อเรามีพื้นที่ที่ควรตระหนักดูแลและใช้ระบบนิเวศวิทยาให้เกิดมูลค่าอย่างมีคุณภาพ
ขณะนี้ เรามีหอยทาก 600 สายพันธุ์ และหอยทางแห่งสยามมีคุณค่ามากกว่าหอยทากจากประเทศอื่น เพราะหอยทางของเรา ผ่านวิวัฒนาการ ทนความร้อน ยูวี เชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ได้ดี อีกทั้ง จุฬาฯ เป็นเสาหลักของแผ่นดินต้องเดินหน้าเรื่องการศึกษา นอกจากผลิตนวัตกรรม งานวิจัยแล้ว ต้องให้ความรู้ สร้างความตระหนักเห็นความสำคัญ ความหลากหลายทางชีวภาพ จึงจัดตั้ง ฟาร์มหอยทากเชิงนิเวศบนพื้นที่ 10ไร่ ขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่คนไทย และในอนาคตจะเปิดพิพิธภัณฑ์หอยทากแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้เด็กๆ ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ รวมถึงสร้าง โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์หอยทาก เปิดให้กรุ๊ปทัวร์ต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเพิ่มมูลค่าสินค้า ผลิตภัณฑ์เมือกหอยทากของไทย ก้าวสู่การเป็นระบบฟาร์มเมือกหอยทางเขตร้อนและความงามระดับพรีเมียม ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม อยากให้คนไทยกลับมาสร้างชาติ ภาคภูมิใจ สร้างอาชีพ รายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพ พืชพรรณธัญญาหารของคนไทย เพราะถ้าคนไทยไม่เห็นความสำคัญเรื่องเหล่านี้ หลายประเทศอย่างเกาหลี ประเทศพัฒนาแล้วกำลังรอโอกาสเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งเหล่านี้
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่านวัตกรรมไม่ได้เกิดจากความอยากให้เกิด แต่จะเกิดและนำไปสู่ภาคปฎิบัติได้ ต้องเกิดจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยเก่งๆ ที่รวมตัวกันทำงาน สร้างขึ้นมา ซึ่งงานวิจัยเมือกหอยทากต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญในการพัฒนางานวิจัย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐ พยายามผลักดันไม่ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เข้าไปยุ่ง หรือควบคุมมหาวิทยาลัย แต่จะปล่อยให้มหาวิทยาลัยดำเนินการพัฒนาเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการ และวิจัย อย่างจุฬาฯ ก็ดำเนินการสร้างงานวิจัยด้วยตนเอง
นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ร่วมทุนในบริษัท สยามสเนล จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดคอสเมติก มีมูลค่า 1.8 แสนล้านบาท และอีก 2 ปีมูลค่าจะเพิ่มประมาณ 2 แสนล้านบาท และอีก 4 ปี คาดว่าจะมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท แต่ปัญหาที่พบในตลาดเสริมความงาม คือ ประเทศไทย ไม่ค่อยมีสินค้าที่เกิดจากนวัตกรรม จนมาเจองานวิจัยของจุฬาฯ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่เกิดจากนวัตกรรม แถมเมือกหอยทากที่ทางคณาจารย์ คณะวิจัยศึกษามีโปรตีนที่สูง มีความโดดเด่นด้านคุณภาพที่ดีกว่าในประเทศอื่นๆ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นทำให้เห็นได้ว่างานวิจัยของคนไทยมีแพ้ชาตใดในโลก ดังนั้น หลังจากนี้จะมีการพัฒนาและขยายตลาดผลิตภัณฑ์เมือกหอยทากไทย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไทยสู่เวทีโลก
ทั้งนี้ ภายในงาน นอกจากเปิดฟาร์มหอยทากแล้ว เปิดตัว ผลิตภัณฑ์ SNAIL8 นวัตกรรมแห่งความงามจากหอยทากไทย ซึ่งผ่านกระบวนการคิดค้น โดยนักวิจัย คัดเลือกมาเพียง 2-3 สายพันธุ์ ที่ให้เมือกคุณภาพสูงสุดในการบำรุงพิว เลี้ยงในฟาร์มกึ่งธรรมชาติด้วยสูตรอาหารเฉพาะ เลือกใช้เมือกเฉพาะส่วนที่สร้างจากชั้นแมนเทิล ซึ่งเป็นเมือกที่มีคุณภาพสูงสุดในการบำรุงผิวพรรณ มีกระบวนการเก็บเมือกที่ไม่เป็นอันตรายต่อหอยทาก มีเทคโนโลยีการคัดกรองเฉพาะเมือกที่มีสารโมเลกุลขนาดเล็ก ซึมเข้าผิวได้ล้ำลึกและรวดเร็ว ปรับส่วนผสมให้ได้เมือกที่มีความเข้มข้นสูง ผลิตด้วยมาตรฐาน GMP และรับรองมาตรฐาน โดยSAMSUNG ซึ่ง SNAIL8 มีประโยชน์ ในการลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ฟื้นฟูสภาพผิว ลดความหมองคล้ำ เผยผิวกระจ่างใส ช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่นของผิว กระชับรูขุมขน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการเกิดสิว สนใจสอบถาม www.snail-8.com หรือ โทร. 02-044-9779, 099-542-3965